วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

มะพร้าว

มะพร้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะพร้าว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma
O
S
D
C
P
T
J
K
N
ต้อนต้น Eocene – ปัจจุบัน
Cocos nucifera - Köhler–s Medizinal-Pflanzen-187.jpg
Coconut palm (Cocos nucifera)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ:Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ:Monocots[1]
ไม่ถูกจัดอันดับ:Commelinids
อันดับ:Arecales
วงศ์:Arecaceae
วงศ์ย่อย:Arecoideae
เผ่า:Cocoeae
สกุล:Cocos
สปีชีส์:C.  nucifera
ชื่อทวินาม
Cocos nucifera
L.
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
เนื้อมะพร้าว
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน354 kcal (1,480 kJ)
24.23
น้ำตาล6.23
ใยอาหาร9
33.49
3.33 g
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(6%)
0.066 mg
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(2%)
0.02 mg
ไนอาซิน (บี3)
(4%)
0.54 mg
(20%)
1.014 mg
วิตามินบี6
(4%)
0.05 mg
วิตามินซี
(4%)
3.3 mg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(1%)
14 mg
เหล็ก
(19%)
2.43 mg
แมกนีเซียม
(9%)
32 mg
ฟอสฟอรัส
(16%)
113 mg
โพแทสเซียม
(8%)
356 mg
สังกะสี
(12%)
1.1 mg
องค์ประกอบอื่น
น้ำ47
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
น้ำมะพร้าว
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน19 kcal (79 kJ)
3.71
น้ำตาล2.61
ใยอาหาร1.1
0.2
0.72
วิตามิน
ไทอามีน (บี1)
(3%)
0.03 mg
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(5%)
0.057 mg
ไนอาซิน (บี3)
(1%)
0.08 mg
วิตามินบี6
(2%)
0.032 mg
วิตามินซี
(3%)
2.4 mg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(2%)
24 mg
เหล็ก
(2%)
0.29 mg
แมกนีเซียม
(7%)
25 mg
ฟอสฟอรัส
(3%)
20 mg
โพแทสเซียม
(5%)
250 mg
สังกะสี
(1%)
0.1 mg
องค์ประกอบอื่น
น้ำ95
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่

ลักษณะทั่วไป[แก้]

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป(mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าวซึ่งน้ำมะพร้าวเกิดจากเอนโดสเปิร์มของมะพร้าวซึ่งจะมีเอนโดสเปิร์มทั้งของแข็งและของเหลว คือ เอนโดสเปิร์มของแข็งจะเป็นเนื้อมะพร้าว และเอนโดสเปิร์มทั้งของเหลวจะเป็นน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. อยู่ในตระกูล Palmae มีระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น
ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ คือ ในปีหนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมีรอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล
ใบ เป็นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง ( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทางประมาณ 200 – 250 ใบ
ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้
ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้นคือ
1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมีสีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา ( shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
พันธุ์ มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อาจแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทต้นเตี้ยและประเภทต้นสูง
ประเภทต้นเตี้ย มะพร้าวประเภทนี้ มีการผสมตัวเองค่อนข้างสูง จึงมักให้ผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะในขณะที่ผลยังไม่แก่ อายุประมาณ 4 เดือน เนื้อมีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำมีรสหวาน บางพันธุ์น้ำมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม
ลักษณะทั่วไปของประเภทต้นเตี้ย ลำต้นเล็ก โคนต้นไม่มีสะโพก ต้นเตี้ย โตเต็มที่สูงประมาณ 12 เมตร ทางใบสั้น ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 3-4 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 35-40 ปี มะพร้าวประเภทต้นเตี้ยมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เปลือกสีเขียวเหลือง นวล (สีงาช้าง) น้ำตาลแดง หรือสีส้ม น้ำมีรสหวาน มีกลิ่นหอม มะพร้าวต้นเตี้ยทุกพันธุ์จะมีผลขนาดเล็ก เมื่อผลแก่มีเนื้อบางและน้อย ซึ่งได้แก่พันธุ์ นกคุ่ม หมูสีเขียว หมู่สีเหลือง หรือนาฬิกา มะพร้าวเตี้ย น้ำหอม และมะพร้าวไฟ แต่ปัจจุบันมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในการบริโภคสดและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ประเภทต้นสูง ตามปกติมะพร้าวต้นสูงจะผสมข้ามพันธุ์ คือ ในแต่ละช่อดอก (จั่น) หนึ่ง ๆ ดอกตัวผู้จะค่อย ๆ ทยอยบาน และร่วงหล่นไปหมดก่อนที่ดอกตัวเมียในจั่นนั้นจะเริ่มบาน จึงไม่มีโอกาสผสมตัวเอง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนอาชีพ เพื่อใช้เนื้อจากผลแก่ไปประกอบอาหาร หรือเพื่อทำมะพร้าวแห้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช
ลักษณะทั่วไปของประเภทต้นสูง ลำต้นใหญ่ โคนต้นมีสะโพกใหญ่ ต้นสูง โตเต็มที่สูงประมาณ 18 เมตร ทางใบใหญ่และยาว ถ้ามีการดูแลปานกลางจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุ 5-6 ปี อายุยืนให้ผลผลิตนานประมาณ 80 ปี มะพร้าวต้นสูงมีผลโตเนื้อหนาปริมาณเนื้อมาก มีลักษณะภายนอกหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ผลขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รูปผลกลม ผลรี บางพันธุ์เปลือกมีลักษณะพิเศษ คือ ในขณะที่ผลยังไม่แก่ เปลือกตอนส่วนหัวจะมีรสหวานใช้รับประทานได้ จึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ได้แก่พันธุ์กะโหลก มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง ปากจก ทะลายร้อย เปลือกหวานและมะแพร้ว มะพร้าวพันธุ์ลูกผสมแม้ว่ามะพร้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกกันมาแต่ดั้งเดิม จะมีลักษณะดีหลายอย่าง เช่น มีขนาดผลค่อนข้างโต และทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แต่ในวงการอุตสาหกรรมมะพร้าวในปัจจุบันได้พัฒนาทางด้านคุณภาพมะพร้าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่รับผิดชอบด้านวิจัยและพัฒนามะพร้าวได้ผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ออกมาแล้ว 2 พันธุ์ ดังนี้
พันธุ์สวีลูกผสม 1 (Sawi Hybrid No.1) เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (MYD x WAT) ลักษณะเด่นของมะพร้าวพันธุ์นี้คือมีอายุการตกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 ผลผลิตเฉลี่ย 2,781 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักแห้ง 566 กก.ต่อไร่ จากจำนวนมะพร้าว 22 ต้นต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงถึง 64 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวมาก
พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 (Chumphon Hybrid 60-1) เป็นมะพร้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x ไทยต้นสูง สามารถเก็บผลผลิตได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก ขนาดผลมีตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,257 ผลต่อไร่ หรือคิดเป็นน้ำหนักมะพร้าวแห้งสูงถึง 628 กก.ต่อไร่ เนื้อมะพร้าวแห้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 63 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขนาดผลของมะพร้าวพันธุ์นี้ค่อนข้างโตกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งผลสดและในรูปมะพร้าวแห้งส่งโรงงานสกัดน้ำมัน มะพร้าวลูกผสมทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า กล่าวคือ พันธุ์ไทยให้ผลผลิต 1,084 ผลต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 374 กก.ต่อไร่ และมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 59-60 เปอร์เซ็นต์

การเพาะปลูก[แก้]

การคัดเลือกสวนพันธุ์ เป็นสวนที่ปลูกมะพร้าวพันธุ์เดียวกัน ขนาดสวนไม่น้อยกว่า 10 ไร่ อยู่ในแหล่งที่มีการปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ ต้นมะพร้าวมีขนาดอายุไล่เลี่ยกัน และควรจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี เป็นสวนที่มีการดูแลปานกลาง และมีต้นที่มีผลดกอยู่เป็นส่วนมาก ไม่มีโรคหรือแมลงระบาด ในกรณีที่อยู่ไกลแหล่งปลูกมะพร้าวเป็นอาชีพ ไม่มีสวนขนาดใหญ่อาจคัดเลือกเพียงบาง หลักการเท่าที่จะทำได้ หรือคัดเลือกเป็นต้น ๆ ก็ได้ การคัดเลือกต้นพันธุ์ควรเป็นต้นที่อยู่ในบริเวณกลาง ๆ สวน ให้ผลดกไม่น้อยกว่า 60 ผล/ต้น/ปี ควรมีการจดบันทึกการให้ผลของต้นที่คิดว่าจะใช้เป็นต้นพันธุ์ก่อนสัก 3-4 ปี เพื่อให้แน่ใจว่า ให้ผลดกจริง โดยทาสีไว้ที่ต้นเป็นที่สังเกตหรืออาจทำเครื่องหมายอย่างอื่นก็ได้ เป็นต้นที่ไม่อยู่ใกล้บ้าน คอกสัตว์หรือในที่ที่ดีกว่าต้นอื่น ลำต้นตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ พุ่มใบเป็นรูปวงกลม หรือครึ่งวงกลม มีจำนวนทาง (ใบ) มาก โคนทางสั้นและใหญ่ มีจั่นอย่างน้อย 10 จั่น กระจายอยู่รอบต้น และทุกจั่นมีผลขนาดต่าง ๆ กันติดอยู่ ทะลายควรนั่งทางก้านทะลายสั้นและใหญ่ เป็นต้นที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ให้ผลมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ เส้นรอบของกะลาไม่ต่ำกว่า 45 ซม. เนื้อหนาเปลือกไม่หนาหรือบางเกินไป
การคัดเลือกผลพันธุ์ ผลมะพร้าวแม้จะเก็บจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วก็ตาม อาจมีบางผลที่มีลักษณะ ไม่เหมาะจะนำไปเพาะทำพันธุ์ เช่น ผลแตกระหว่างเก็บเกี่ยว มีโรคแมลงทำลาย จึงควรคัดเลือกผลก่อนนำไปเพาะ ซึ่งมีลักษณะการพิจารณาดังนี้ เป็นผลที่ได้รับความกระทบกระเทือนน้อย จึงควรเก็บโดยใช้เชือกโยงลงมา หรือโยนลงน้ำ ผลโตได้ขนาด รูปผลค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะตรงตามพันธุ์ ผลแก่จัด เปลือกมีสีก้ามปู หรือสีน้ำตาล มีลักษณะคลอนน้ำไม่มีโรคแมลงทำลาย
การเตรียมผลพันธุ์ก่อนเพาะ ปาดเปลือกทางด้านหัวออกขนาดประมาณเท่าผลส้มเขียวหวานเพื่อให้น้ำซึมเข้าได้สะดวกใน ระหว่างเพาะ และช่วยให้หน่องอกแทงออกมาได้ง่าย ถ้าเป็นผลที่ยังไม่แก่จัด เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง ให้นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มโดยวางเรียงให้ รอยปาดอยู่ด้านบน ผึ่งไว้ประมาณ 15-30 วัน จนเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เตรียมผลพันธุ์ไว้ประมาณ 2 เท่าของจำนวนหน่อที่ต้องการเพราะในขณะเพาะจะมีพันธุ์ที่ไม่ งอกและเมื่องอกแล้วก็ต้องคัดหน่อที่ไม่แข็งแรงออก
การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำและมีการระบายน้ำดี ไม่เป็นแหล่งที่เคยมีโรคและแมลงระบาดมาก่อน พื้นแปลงควรเป็นทรายหยาบ เพื่อสะดวกในการเพาะและย้ายกล้า ปราบวัชพืชออกให้หมด ถ้าพื้นดินเป็นดินแข็งควรไถดินลึก 15-20 ซม. ถ้าแปลงกว้างมาก ควรแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวตามความต้องการ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 ซม. ในแต่ละแปลงย่อยขุดเป็นร่องลึกประมาณ 10 ซม. กว้างเท่าขนาดของผลมะพร้าว ยาวตลอด พื้นที่ แต่ละแปลงจะเพาะมะพร้าวได้ 10 แถว
วิธีการเพาะ วางผลมะพร้าวตามแนวนอนลงในร่องที่เตรียมไว้ หันด้านที่ปาดขึ้นข้างบนเรียงไปตามทิศ ทางเดียวกัน ให้แต่ละผลติดกันหรือห่างกันไม่เกิน 5 ซม. กลบทรายหรือดินให้ส่วนของผลมะพร้าวโผล่พ้นผิวดินประมาณ 1/3 ของผล
ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยสังเกตจากความชื้นตรงบริเวณรอยปาด
คอยดูแลกำจัดวัชพืช โรค-แมลงต่าง ๆ
หลังจากเพาะแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์หน่อจะเริ่มงอก ในระยะแรก ๆ จะงอกน้อย เมื่อเลย 4 สัปดาห์ไปแล้วหน่อจะงอกมากขึ้น มะพร้าวที่ไม่งอกภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 70 วัน ควรคัดทิ้ง หรือนำไปทำมะพร้าวแห้ง เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้งอกก็จะได้หน่อที่ไม่ดี ตามปกติมะพร้าวจะ งอกประมาณร้อยละ 60 ภายใน 10 สัปดาห์ เมื่อหน่อยาวประมาณ 1-3 นิ้ว ควรย้ายลงแปลงชำ ในการค้าจะไม่ย้ายลงแปลงชำทีละน้อย แต่จะรอย้ายพร้อมกันในคราวเดียว
ในกรณีที่ทำการเพาะมะพร้าวเป็นจำนวนไม่มากนักอาจทำการเพาะโดยไม่ต้องนำลงแปลงชำ ก็ได้ แต่ในการเพาะจะต้องขยายระยะให้กว้างขึ้น โดยวางผลห่างกันประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้หน่อเจริญได้ดี จะได้หน่อที่อ้วนและแข็งแรง เมื่อหน่อมีใบประมาณ 4-6 ใบ ก็คัดไป ปลูกได้
วิธีการชำ เตรียมแปลงชำเช่นเดียวกับแปลงเพาะ แปลงชำควรอยู่ใกล้กับแปลงเพาะ เพื่อสะดวกในการขนย้ายหน่อ ถ้าดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยคอกไร่ละ 24 ปี๊บ (240 กก.) หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ ขุดหลุมขนาดเท่าผลมะพร้าว ระยะระหว่างหลุม 60 ซม. อาจวางผังการทำแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า หรือแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ ย้ายหน่อมะพร้าวจากแปลงเพาะลงชำในหลุมให้หน่อตั้งตรง กลบดินหนาประมาณ 2/3ของผล เพื่อไม่ให้ดินทับส่วนคอของหน่อพันธุ์ ใช้ทางมะพร้าวหรือหญ้าแห้งคลุมแปลง (อาจใช้วัสดุอื่นก็ได้) เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพพื้นดิน พื้นที่ปลูกมะพร้าวในประเทศไทยไม่ควรสูงกว่าระดับน้ำทะเลเกิน 100 เมตร ปลูกได้ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียวจัด แต่ในดินร่วนจะมีการระบายน้ำดีทำให้รากเจริญเติบโตเร็ว หน้าดินควรลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร และน้ำใต้ดินไม่สูง เพราะอาจทำให้เหี่ยวเฉาและผลอ่อนร่วงหล่นได้ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินควรอยู่ระหว่าง 6.4 – 7.0 และมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลาง
ดินที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวมี 6 ชนิดคือ
1. ดินใกล้ฝั่งแม่น้ำ
2. ดินใกล้ปากน้ำติดทะเลเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน
3. ดินตามเกาะต่างๆ
4. ดินชายทะเลซึ่งส่วนมากหน้าดินเป็นดินทราย
5. ดินเลนที่ขุดลอกจากสันดอน
6. ดินบนคันนา
สภาพอากาศ ถึงแม้มะพร้าวจะสามารถเจริญเติบโตและให้ผลในสภาพลมฟ้าอากาศแทบทุกประเภท แต่หากจะปลูกเป็นการค้าก็ควรจะเลือกปลูกในสภาพที่มะพร้าวจะให้ผลผลิตสูง ซึ่งสภาพลมฟ้าอากาศที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวเป็นดังนี้
ฝน มะพร้าวเจริญเติบโตให้ผลผลิตดีเมื่อได้รับน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ 1500 – 2000 มิลลิเมตรต่อปีและไม่ควรได้รับน้ำน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรติดต่อกันนาน 3 เดือน ผู้ปลูกมะพร้าวในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงนิยมขุดร่องสวนเพื่อให้มะพร้าวมีน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอตลอดปี ทั้งยังช่วยป้องกันน้ำท่วมรากหากฝนตกชุกเป็นเวลานาน
ลม ลมพัดอ่อนๆ จะช่วยให้มะพร้าวเติบโตได้ดีเพราะเพิ่มการคายน้ำและเร่งการดูดธาตุอาหารและน้ำจากดิน ทั้งยังช่วยในการผสมเกสร แต่ถ้าลมแรงเกินไปอาจทำให้ยอดบิดหักและตายได้ มะพร้าวที่ปลูกใหม่จะชะงักการเจริญเนื่องจากรากยังไม่ยึดดินแน่นเท่าที่ควร
แสง มะพร้าวต้องการแสงแดดสม่ำเสมอประมาณ 2000 ชั่วโมงต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน หากได้รับแสงแดดน้อยมะพร้าวจะไม่ค่อยออกดอกติดผล หรือติดผลแต่เนื้อบาง อุณหภูมิ มะพร้าวเจริญได้ดีในอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส จะสูงหรือต่ำกว่าก็ไม่ควรเกิน 7 – 8 องศา และอุณหภูมิไม่ควรเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน อุณหภูมิที่ต่ำมากจะกระทบกระเทือนการเจริญและผลผลิต
การเลือกที่ปลูกมะพร้าว หลักทั่วไปในการคัดเลือกที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ดิน เป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี สภาพดินเป็นกลาง หรือเป็นกรดเพียงเล็กน้อย pH ระหว่าง 6-7 หน้าดินมีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรตื้นกว่า 2 เมตร
ปริมาณน้ำ ควรมีฝนตกไม่น้อยกว่า 1,300 มม./ปี และตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน ถ้ามีฝนตกน้อยกว่า 50 มม./เดือน เป็นเวลานานติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน ผลผลิตจะลดลง หรือไม่ให้ผลเลย
อุณหภูมิ ถ้ามีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ติดต่อกันหลาย ๆ วัน มะพร้าวจะให้ผลน้อย อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ระหว่าง 27 + 7 องศาเซลเซียส ระดับความสูงของพื้นที่ ถ้าปลูกมะพร้าวในที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ มะพร้าวจะไม่ค่อย ออกผล การทำสวนเพื่อการค้าควรเป็นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร
แสงแดด มะพร้าวต้องการแสงแดดประมาณวันละ 7 ชั่วโมง ถ้าปลูกมะพร้าวในที่แสงแดดส่อง ไม่ถึง ต้นจะสูงเร็ว และไม่ค่อยออกผลเนื้อในผลก็จะบาง จึงไม่ควรปลูกมะพร้าวในที่ร่มหรือ ปลูกถี่เกินไป
ระยะปลูก ระยะปลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อจำนวนผลผลิตที่จะได้รับถ้าปลูกถี่เกินไปต้นมะพร้าวจะบังร่มกัน ไม่สามารถจะปรุงอาหารได้อย่างเต็มที่ ต้นสูงชะลูด ออกผลไม่ดก แต่ถ้าปลูกห่างกันมาก จะได้จำนวนต้นน้อย ผลผลิตก็น้อย
หมายเหตุ มะพร้าวต้นเตี้ยควรปลูกไร่ละประมาณ 40-45 ต้น สำหรับพื้นที่ลุ่ม หรือดินเป็นดินหนียว การระบายน้ำไม่ดี ควรยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดไม่น้อยกว่า 50 ซม. ขุดร่องตามความยาวของพื้นที่ สันร่องกว้าง 5 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นเตี้ย 8 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นสูง คูร่องกว้าง 2 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก ควรเตรียมหลุมในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด 50 X 50 X 50 ซม. แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากหลุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ใบใม้แห้งหรือขยะในหลุม อาจจะใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมแทนการเผาก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้ง หรือดินที่ปลูกเป็นทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวรองก้นหลุมโดยวางกาบมะพร้าวให้ด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นด้านบน วางซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1:7 รองก้นหลุม ส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยร็อคฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 2 กระป๋องนม) และใส่ฟูราดาน 1 กระป๋องนม เพื่อป้องกันปลวกกินผลพันธุ์มะพร้าว เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก
วิธีการปลูก ควรปลูกในฤดูฝน ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ให้เป็นหลุมเล็กๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันราทาตรงรอยตัดวางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง ตัดหน่อไปในทิศทางเดียวกัน เอาดินกลบอย่างน้อย 2/3 ของผล เพื่อให้พอดีมิดผลมะพร้าว แต่ระวังอย่าให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นก็ควรจะกลบดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยก เหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยง ให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย ปลูกมะพร้าวให้ต้นตั้งตรง มัดหลักยึดต้นกันลมโยก ทำร่มบังแดดให้ในระยะแรกหลังปลูก
การใส่ปุ๋ย แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด แต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดิน และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวควรอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7 การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรได้นำตัวอย่างดินไปเข้าวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการด้วย พบว่าในปีหนึ่งๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ ดังนี้
ไนโตรเจน 9.44-14.56 กก.ต่อไร่
ฟอสฟอรัส 4.32-6.40 กก.ต่อไร่
โปแตสเซียม 13.60-20.96 กก.ต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว โปแตสเซียมมะพร้าวจะดูดไปใช้มากที่สุด ประมาณ 62 % ของโปแตสเซียม ถูกนำไปใช้ในการเพิ่มจำนวนผลผลิตของมะพร้าว
ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวได้สูงสุด คือ ปุ๋ยเกรด 13-13-21 และปุ๋ยเกรด 12-12-17-2 แมกนีเซียมซัลเฟต และปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเป็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้น ควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้สัมพันธ์กับอายุมะพร้าว
วิธีการใส่ปุ๋ยฤดูที่เหมาะที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ในช่วงนี้มีความชื้นเพียงพอที่จะช่วยละลายปุ๋ย และรากของมะพร้าวกำลังเจริญเติบโตเต็มที่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี การหว่านปุ๋ยจากการศึกษาพบว่า รากมะพร้าวที่สามารถดูดปุ๋ยได้ดีอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ห่างจากลำต้นภายในรัศมี 2 เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงควรโรยหรือหว่านปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง 2 เมตร โดยรอบแต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคนมะพร้าวเพราะรากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพรวนดินตื้นๆ ลึกประมาณ 10-15 ซม. เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกันการชะล้างนั่นเอง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสด ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนเช่น ประเทศไทย อินทรียวัตถุในดินส่วนมากมีน้อยและมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูงพวกแบคทีเรียในดินจะเจริญเติบโตได้ดีคอยย่อยและทำลายพวกอินทรียวัตถุได้อย่างรวดเร็ว อินทรียวัตถุจะเป็นตัวช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสภาพทางฟิสิกส์ของดินดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศได้ดี รากของมะพร้าวสามารถชอนไชไปหาอาหารได้อย่างกว้างขวาง การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินสามารถกระทำได้หลายแบบ เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง แล้วทำการไถกลบ หรือใช้วิธีการเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้
การกำจัดวัชพืช ใช้แรงคน โดยการถากด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถไถหญ้า รถไถนาขนาดเล็ก
ปลูกพืชคลุม ใช้พืชตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียม เพอร์ราเรีย หรือ เซ็นโตรมา โดยการปลูกให้ห่างโคนต้นเกินรัศมี 1 วา
ใช้สารเคมี เช่น ไกลโฟเซ็ท(ชื่อการค้าว่า ราวด์-อัพ หรือ คาวบอย) หรือดาลาพอน (ชื่อการค้าว่า คาลาล่า หรือ ดาวพอน ฯลฯ) กำจัดวัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา ใช้พาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม้อกโซน กล๊าสโซน เพลนโซน น้อกโซน ฯลฯ)กำจัดวัชพืชล้มลุกต่างๆ เช่น ตีนนก ตีนกา สาบแร้งสาบกา (อัตราและวิธีใช้ตามฉลากยา เวลาใช้ต้องระวังอย่าให้ละอองสารเคมีถูกต้นหรือใบมะพร้าว)

โรคและแมลงในมะพร้าว[แก้]

แมลงที่เป็นศัตรูพืชกับมะพร้าวคือ ด้วงแรด เป็นแมลงปีกแข็งตัวใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม บนหัวมีนอ เหมือนแรด ตัวแก่กัดกินยอดและใบอ่อนทำให้ด้วงงวงมาวางไข่
สามารถจะป้องกันและกำจัดได้ทั้งในระยะที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย โดยปฏิบัติดังนี้
รักษาสวนให้สะอาด เป็นการทำลายแหล่งวางไข่ เพราะด้วงแรดชอบวางไข่ในกองขยะ กองปุ๋ยหมัก กองเศษไม้ ตอไม้ผุ ฯลฯ ถ้าเห็นใบยอดขาดเป็นริ้วๆแสดงว่าถูกด้วงแรดกัดให้ใช้ตะขอหรือเหล็กแหลมแทง ดึงเอาตัวออกมาทำลาย ใช้สารเคมี เช่น
1. ออลดริน ชนิดน้ำ 5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวทุก 2 เดือน
2. อโซดริน 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวเดือนละครั้ง
3. ออลดริน ชนิดผงคลุกกับขี้เลื่อยในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อขี้เลื่อย 8 กระป๋องนม โรยที่คอมะพร้าวต้นละ 1 กระป๋องนม ทุก 2 เดือน
4. สำหรับต้นมะพร้าวที่มีลำต้นสูงมาก ใช้พวก นูวาครอนหรืออโซดรินฉีดเข้าลำต้น โดยเอาสว่านเจาะลำต้นให้เป็นรูจำนวน 2 รู อยู่ตรงข้ามกัน ใช้เข็มฉีดยาดูดสารเคมี 10 ซีซี ฉีดใส่ในรูที่เจาะไว้ข้างละ 5 ซีซี จะมีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 30 วัน วิธีนี้ห้ามเก็บผลมะพร้าวก่อนครบกำหนดหลังจากฉีดสารเคมีแล้ว อย่างน้อย 30 วัน
ใช้วิธีชีวอินทรีย์โดยธรรมชาติจะมีเชื้อราและเชื้อไวรัสที่สามารถทำลายด้วงแรดได้ทั้งที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย คือ
(1) เชื้อราเขียว Metarhizium anisophiae จะเข้าทำลายตัวหนอนมองเห็นเป็นเส้นใยสีขาวจับกันเป็นก้อนอยู่ที่ผิวภายนอกตัวหนอนต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ถ้าตัวหนอนของด้วงแรดมีลักษณะดังกล่าวควรนำไปใส่ให้กระจายตามกองขยะ กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ตอหรือท่อนมะพร้าวผุๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ของด้วงแรด จะช่วยลดปริมาณด้วงแรดลงได้มาก
(2) เชื้อไวรัส Rhabdiomvirus oryctes หรือที่เรียกกันว่าแบคคูลาไวรัส (Baculavirus) จะเข้าทำลายตัวหนอนมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือ ส่วนท้ายของตัวหนอน (rectum) จะพองโตยื่นออกมาเห็นได้ชัด เมื่อพบหนอนที่มีลักษณะนี้ควรเก็บใส่ไว้ตามแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด จะทำให้ด้วงแรดเป็นโรคแพร่กระจายมากขึ้นปริมาณของด้วงแรดจะลดลง
แมลงอีกชนิดคือ ด้วงงวง มีขนาดเล็กกว่าด้วงแรด เข้าทำลายต้นมะพร้าวโดยการวางไข่ ตามรอยแผลที่มีอยู่แล้ว เช่น แผลที่เกิดจากด้วงแรดกัดทำลายเมื่อไข่ฟักตัวแล้วหนอนก็จะกัดกินส่วนที่อ่อนแล้วเจาะไชเข้าในลำต้น ทำให้ต้นมะพร้าวเหี่ยวเฉาและตายได้
การป้องกันและกำจัด ป้องกันกำจัดด้วงแรดอย่าให้เกิดระบาดทำลายต้นมะพร้าวเพราะแผลที่ด้วงแรดกัดเป็นช่องทางให้ด้วงงวงเข้าไปวางไข่ ระวังอย่าให้ต้นมะพร้าวเกิดบาดแผล เช่น การใช้มีดฟันต้น เพราะด้วงงวงจะเข้าไปวางไข่ตามรอยแผล อย่าปลูกมะพร้าวตื้น เพราะรากจะลอย ด้วงงวงสามารถเข้าไปในรอยเปิดของเปลือกตรงส่วนของโคนต้นที่ติดกับพื้นดินได้ ถ้าพบต้นที่ถูกด้วงงวงทำลาย และต้นยังแข็งแรงอยู่ ให้ใช้ยาคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน หรือ คูราแทร์ 3% G) โรยบริเวณโคนต้น เกลี่ยดินกลบ รดน้ำให้ชุ่ม สารเคมีจะซึมผ่านขึ้นไปจนถึงยอด ฆ่าหนอนที่กินอยู่ภายในได้ และอย่าเก็บผลไปรับประทานภายใน 30 วัน หลังจากใส่สารเคมีแล้ว ต้นที่ถูกด้วงงวงทำลายจนตาย ควรโค่นทิ้งแล้วเผาทำลาย

รายชื่อพันธุ์มะพร้าว[แก้]

ประโยชน์[แก้]

มะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
น้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำ วุ้นมะพร้าว ได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า “สลัดเจ้าสัว“ (millionaire's salad)
ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
จาวมะพร้าว ใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้
ต้นมะพร้าว

มะพร้าวในประเทศไทย[แก้]

มะพร้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยรู้จักใช้เนื้อมะพร้าวในการบริโภคเป็นอาหารทั้งคาวและหวานในชีวิตประจำวัน
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล/คน/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป
อุตสาหกรรมมะพร้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว
2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
ผลผลิตมะพร้าวแต่ละปีจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท คิดแล้วมูลค่ามหาศาล ซึ่งเราไม่ควรที่จะละเลยและ ควรเร่งหาทางในการส่งเสริมและพัฒนามะพร้าวอีกต่อไป
มะพร้าวสามารถขึ้นได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยคือ (pH ระหว่าง 6-7 ) ลักษณะดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีแสงแดดมาก
ภาคที่มีการปลูกมะพร้าวมากและปลูกเป็นอาชีพ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
พื้นที่ปลูก
ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง
ภาคกลาง ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร
ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา

อุปสรรคในการผลิตมะพร้าวในปัจจุบัน[แก้]

1. ต้นมะพร้าวส่วนใหญ่มีอายุมากและสวนเสื่อมโทรม
2. พันธุ์มะพร้าวต้นสูงเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ
3. ปลูกแล้วไม่มีการดูแลรักษา
4. สวนมะพร้าวประเภทต้นสูง ไม่ใช่แหล่งรายได้หลักของเกษตรกร เนื่องจากราคามะพร้าวไม่แน่นอน ราคามะพร้าวแกงเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ 2 บาทต่อผล ต่ำกว่าเป้าหมายที่กรมวิชาการเกษตรตั้งไว้ที่ 4 บาทต่อผล ยกเว้นที่ อำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ เป็นมะพร้าวผลใหญ่ พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มะพร้าว จึงเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในแถบนั้น
5. แม้รัฐบาลให้การคุ้มครองผู้ผลิตมะพร้าวด้วยการตั้งกำแพงภาษี แต่รัฐบาลก็ไม่ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้
6. ขาดข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกะทิที่คาดว่ามีมูลค่าการส่งออกสูง

ปัญหาของผู้ค้ามะพร้าวในไทยในปัจจุบัน[แก้]

1.ภาวะราคามะพร้าวตกต่ำ
2.ผลกระทบจากเกณฑ์ให้เกิดการนำเข้ามะพร้าวจากประเทศอื่น
3.ปริมาณมะพร้าวที่ออกสู่ตลาดในประเทศไทยมีมากเกินความต้องการ
4.ต้นมะพร้าวที่เกษตรกรปลูกมีอายุมากและสวนเสื่อมโทรม
5.พันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกให้ผลผลิตต่ำ เทคโนโลยีการผลิตยังไม่เหมาะสม

แนวทางการช่วยเหลือผู้ค้ามะพร้าวในไทย[แก้]

1.พัฒนาสวนมะพร้าวเสื่อมโทรม โดยปลูกพืชอื่นทดแทน
2.ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว เพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
3.ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมแก่เกษตรกร

ความสามารถในการแข่งขันในตลาดมะพร้าวโลก[แก้]

มะพร้าวอ่อน มะพร้าวอ่อนเป็นที่นิยมในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ กอปรกับมีงานวิจัยที่สนับสนุนคุณประโยชน์ของมะพร้าวที่มีมากมายต่อพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งมีสารให้ความสดชื่น (สารเหล่านี้มีมากในมะพร้าวอ่อนอายุไม่เกิน 8 เดือน แต่มีอยู่น้อยในมะพร้าวแก่) ทำให้มะพร้าวอ่อนไทยเป็นสินค้าส่งออกที่นิยมแพร่หลาย ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
ไทยส่งออกมะพร้าวอ่อนตามพิกัด 0801.190.007 ในปี 2546 รวม 266.4 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณการส่งออก 26.55 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากปี 2545 โดยตลาดมะพร้าวน้ำหอมของไทยที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา บาร์เรน บรูไน และซาอุดิอาระเบีย
คู่แข่งมะพร้าวอ่อนของไทยได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย โดยไทยเสียเปรียบในแง่ต้นทุนการขนส่งในบางตลาด เช่น ตลาดฮ่องกง ไทยไกลกว่าฟิลิปปินส์ ตลาดสิงคโปร์ ไทยไกลกว่ามาเลเซีย แต่ในเรื่องรสชาติแล้ว มะพร้าวอ่อนของไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมะพร้าวอ่อนของประเทศอื่นๆ ไม่มีพันธุ์เฉพาะอย่าง เช่น มะพร้าวน้ำหอมของไทย แต่เป็นมะพร้าวแกงซึ่งเก็บผลอ่อนมาขายกัน นอกจากนี้ ไทยยังมีการแปรรูปเป็นมะพร้าวน้ำหอมแช่แข็ง และน้ำมะพร้าวบรรจุกระป๋องขาย
บริษัทที่ผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออกทั้งมะพร้าวอ่อนปอกเปลือกเป็นลูก มะพร้าวอ่อนแช่แข็ง และบรรจุกระป๋อง เช่น บริษัท เฟรช แอนด์ ชิลล์ จำกัด ราชบุรี บริษัท มะพร้าวน้ำหอมไทย จำกัด สมุทรสาคร และบริษัท ซี แอนด์ เอ โปรดักซ์ จำกัด ราชบุรี เป็นต้น
มะพร้าวแกง ในการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันมะพร้าวแกงและผลิตภัณฑ์ของไทย กับประเทศผู้ส่งออกมะพร้าวและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะเน้นที่รายการมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข้อผูกพันและ การนำเข้ารายการสินค้าเกษตร 23 รายการของไทยกับ WTO ซึ่งมี 3 รายการดังนี้
1.มะพร้าวฝอยทำให้แห้ง มะพร้าวฝอยทำให้แห้งอยู่ในพิกัด 0801.110.000 ตามงานศึกษาของ สุภาวดี ภัทรโกศล (2540) พบว่า ต้นทุนการผลิตมะพร้าวของเกษตรกรไทยอยู่ที่ผลละ 3.08 บาท และหากตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ประเทศไทยเปิดเสรีในกรอบ AFTA ซึ่งทำให้มะพร้าวไม่สามารถตั้งกำแพงภาษีนำเข้าได้ ไทยจะเสียเปรียบประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่มีราคามะพร้าวถูกกว่าของไทยมาก โดยราคาขายอยู่ที่ประมาณผลละ 1 บาท ขณะที่ตามรายงานในพิกัดสินค้าของกรมศุลกากร ไทยเก็บอัตราภาษีนำเข้ามะพร้าวที่ร้อยละ 5.0 ในกรอบ AFTA แต่ความจริงแล้ว ไทยไม่เคยเปิดตลาดมะพร้าวตามกรอบ AFTA แต่อย่างไร โดยสำหรับพิกัด 0801.110.000 ไทยเก็บอัตราภาษีที่ร้อยละ 54.6 ตามกรอบ WTO
จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมะพร้าวจากกรมวิชาการเกษตร ก็เห็นเช่นกันว่ามะพร้าวฝอยทำให้แห้งของไทยต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าต้นทุนของไทยจะสูงกว่า แต่เชื่อว่าราคามะพร้าว ฝอยทำให้แห้ง เมื่อบวกค่าขนส่งของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาไทยจะไม่ถูกกว่าของไทย แต่อาจจะมีการนำเข้ามะพร้าวจากเวียดนามและพม่าเข้ามาได้ เนื่องจากต้นทุนขนส่งไม่สูงนัก
2. เนื้อมะพร้าวแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้งอยู่ในพิกัด 1203.000.005 ไม่มีการนำเข้ามาในไทย แต่มีการส่งออก โดยในปี 2546 มูลค่ารวม 840.9 แสนบาท ปริมาณส่งออก 108.5 ตัน
จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมะพร้าวชี้ว่า เนื้อมะพร้าวแห้งในประเทศแข่งขันกับเนื้อมะพร้าวแห้งนำเข้าได้ แต่การพิจารณาในเชิงตัวเลขนำเข้า เพื่อเปรียบเทียบราคานำเข้ากับราคาในประเทศไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีการนำเข้า
ขณะที่การตรวจสอบตัวเลขการส่งออกเนื้อมะพร้าวแห้ง พบว่า ปริมาณการส่งออกมีน้อย และตัวเลขไม่ได้แสดงนัยการเติบโตที่น่าสนใจ จึงดูไม่มีความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
3. น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวอยู่ในพิกัด 1513.110.008 ไม่มีการนำเข้ามาในไทย แต่มีการส่งออก โดยในปี 2546 มูลค่ารวม 43.28 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 3,646.9 ตัน
จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญมะพร้าวชี้ว่าน้ำมันมะพร้าวในประเทศแข่งขันกับน้ำมันมะพร้าวนำเข้าได้ แต่การพิจารณาในเชิงตัวเลขนำเข้า เพื่อเปรียบเทียบราคานำเข้ากับราคาในประเทศไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีการนำเข้า
เมื่อตรวจดูความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดต่างประเทศพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยไทยสามารถส่งออกน้ำมันมะพร้าวได้ในมูลค่าสูง

สถิติการผลิตมะพร้าว[แก้]

สถิติการผลิตมะพร้าว 10 อันดับแรกของโลก (หน่วย:เมตริกตัน) [2]
อันดับประเทศปริมาณ
1Flag of Indonesia.svg อินโดนีเซีย16,300,000.00
2Flag of the Philippines.svg ฟิลิปปินส์14,796,600.00
3Flag of India.svg อินเดีย9,500,000.00
4Flag of Brazil.svg บราซิล3,033,830.00
5Flag of Sri Lanka.svg ศรีลังกา1,950,000.00
6Flag of Thailand.svg ไทย1,500,000.00
7Flag of Mexico.svg เม็กซิโก950,000.00
8Flag of Vietnam.svg เวียดนาม940,000.00
9Flag of Papua New Guinea.svg ปาปัวนิวกินี650,000.00
10Flag of Malaysia.svg มาเลเซีย642,000.00

สถานการณ์มะพร้าวในตลาดโลก[แก้]

สถานการณ์มะพร้าวในแหล่งผลิตอย่างประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และไทย มีแนวโน้มผลผลิตลดลง เนื่องจากหันไปปลูกปาล์มมากขึ้น แต่ความต้องการใช้มะพร้าวกลับเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะภัยแล้ง และพื้นที่ปลูกสำคัญได้รับความเสียหายจากแมลง รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกไม่ผลักดันการส่งออกผลมะพร้าวมายังประเทศไทย ส่งผลให้ราคามะพร้าวผลและกะทิในไทยสูงขึ้น เพื่อสำรองผลผลิตไว้ทำเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น นมมะพร้าว เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีความต้องการสูงในขณะนี้ จึงคาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในปีนี้ จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 60 – 70 สำหรับการแก้ไขในเบื้องต้น ได้เร่งรัดให้กรมการค้าต่างประเทศ ออกระเบียบการนำเข้ามะพร้าว ภายใต้ข้อตกลงอาฟต้าโดยไม่เสียภาษี เพราะประเทศอินโดนีเซียยังพอมีผลผลิตเพราะไม่ได้ประสบภัยแล้ง โดยคาดว่า จะสามารถออกประกาศและเร่งนำเข้า ส่งผลให้สถานการณ์ราคามะพร้าวในประเทศน่าจะคลี่คลาย ส่วนราคามะพร้าวผลใหญ่ขณะนี้ ราคาปรับสูงขึ้นเป็นผลละ 24 บาท สูงขึ้นประมาณผลละ 14 บาท จากเดิมที่ราคาผลละ 10.60 บาท ส่งผลให้ราคากะทิปรับเพิ่มขึ้นเป็น 60 บาทต่อกิโลกรัม
จากผลสำรวจพื้นที่ปลูกมะพร้าวของประเทศพบว่า พื้นที่ปลูกและผลผลิตมะพร้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่บางส่วนถูกทดแทนด้วยปาล์มน้ำมัน โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวอยู่ประมาณ 1.610 ล้านไร่ จาก 2.549 ล้านไร่ในปี 2549 ส่งผลให้พื้นที่เก็บเกี่ยวลดลงเช่นกัน แต่ในทางกลับกันเมื่อพิจารณาถึงผลผลิตพบว่า ผลผลิตมะพร้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 606 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2549 เป็น 1,077 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2550 สำหรับสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลง เป็นผลมากจากพื้นที่ปลูกมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวอายุมากจึงทำให้ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ และต้องปลูกทดแทนด้วยพันธุ์ดี รวมทั้งเกษตรกรมีความต้องการมะพร้าวพันธุ์ดีปีละ 2 แสนหน่อ แต่กรมวิชาการเกษตรสามารถผลิตได้ 41,495 หน่อ เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการขยายสวนแม่พันธุ์และบำรุงรักษาพ่อ-แม่พันธุ์มะพร้าว ขณะเดียวกัน เกษตรกรต้องประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น แมลงดำหนาม และมีมะพร้าวราคาถูกที่นำเข้ามาทดแทนมะพร้าวผลภายในประเทศ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้กำหนด 5 แนวทางการพัฒนาพื้นที่ปลูกมะพร้าว คือ
1.รักษาระดับพื้นที่ปลูกมะพร้าวคงที่ที่ 1.4 ล้านไร่ และสนับสนุนการปลูกมะพร้าวพันธุ์ดีทดแทนสวนมะพร้าวเดิมหรืออายุมาก
2. พัฒนาสายพันธุ์มะพร้าวลูกผสมและส่งเสริมถ่ายทอดต่อให้เกษตรกร รวมทั้งอนุรักษ์เชื้อพันธุ์มะพร้าวพื้นเมือง โดยรัฐสนับสนุนมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองภายในครัวเรือน
3. ส่งเสริมการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี
4. ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มมูลค่ามะพร้าวผ่านสถาบันเกษตรกร โดยรัฐให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ และจัดทำโครงการ
5. รณรงค์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการบริโภคและใช้ประโยชน์จากการบริโภคมะพร้าว
ปัจจุบันไทยส่งออกมะพร้าวในรูปมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว และกะทิสำเร็จรูป ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคอาหารไทยในต่างประเทศ และความนิยมอาหารไทยของชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น โดยปี 2550 ตั้งแต่ มค.- ตค. ปริมาณส่งออกกะทิสำเร็จรูปมีเท่ากับ 85,897 ตัน โดยมีตลาดที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ และในเอเชีย ขณะเดียวกัน แนวโน้มความต้องการน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นทั้งเพื่อการบริโภค และในรูปพลังงานเชื้อเพลิง ดังนั้น ในอนาคตคาดว่าราคาน้ำมันพืชจะมีแนวโน้มสูงขึ้น

ความเชื่อ[แก้]

ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวบริเวณทิศตะวันออกของบ้านเพื่อให้เป็นสิริมงคล คนที่เกิดปีชวด ปีเถาะ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ก็จัดให้มะพร้าวเป็นมิ่งขวัญของคนที่เกิดในปีดังกล่าว นอกจากนี้ การล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว ก็เพราะมีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำบริสุทธิ์ ในพิธีกรรมทั้งทางพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จะจัดให้มีมะพร้าวอ่อนเป็นเครื่องสังเวย เพราะมีความเชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์เหมาะแก่การชำระล้างและการดื่มเพื่อเป็นสิริมงคล

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]